หน่วยศัลยพยาธิวิทยา
เซลล์วิทยา
จุลทรรศน์อิเล็กตรอน
พยาธิวิทยาระดับโมเลกุล
สแกนสไลด์
เซลล์พันธุศาสตร์
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิค

หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิค

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ซ่อนรายละเอียด

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก (พยาธิวิทยากายวิภาค)

ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ป.บัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก (พยาธิวิทยากายวิภาค)

ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Higher Graduate Diploma in Clinical Medical Sciences (Anatomical Pathology)

ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : Higher Grad. Dip. in Clinical Medical Sciences (Anatomical Pathology)

ปรัญญาหลักสูตร

ดูเพิ่มเติม

หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชาพยาธิวิทยากายวิภาค (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2564) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
(1)  มีความรู้ความเข้าใจในพื้นฐานของหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชาพยาธิวิทยากายวิภาค และสามารถประยุกต์ความรู้ในการปฏิบัติงานในสาขาวิชาชีพในระดับสูงหรือการทำวิจัยได้
(2)  มีความสามารถในการจัดการโครงการทางวิชาการและศึกษาวิจัยที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาความรู้ใหม่หรือวิธีปฏิบัติงานใหม่ๆในสาขาวิชาพยาธิวิทยากายวิภาค 
(3) มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การสื่อสาร  การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดการสมัยใหม่ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาความรู้และการนำไปใช้ประโยชน์ได้ในวงกว้าง
(4) มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการวิชาชีพ และมีภาวะผู้นำในการส่งเสริมให้มีการประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
(5) มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี มีภาวะผู้นำในการทำงานและทักษะการทำงานเป็นทีม

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ดูเพิ่มเติม
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชาพยาธิวิทยากายวิภาค (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2564) มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจในพื้นฐานเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีในสาขาวิชาพยาธิวิทยากายวิภาค มีความสามารถในการปฏิบัติงานในสาขาวิชาชีพหรือทำวิจัยได้ โดยการใช้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัตินำมาประยุกต์ให้เกิดการพัฒนาความรู้ใหม่หรือวิธีการปฏิบัติงานใหม่ในสาขาวิชาได้อย่างสร้างสรรค์ มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยา บรรณตามหลักวิชาการและวิชาชีพ และมีภาวะผู้นำในการส่งเสริมให้มีการประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรม และจริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ

โครงสร้างหลักสูตร

ดูเพิ่มเติม

คำอธิบายระบบรหัสวิชา
รหัสวิชาของสาขาวิชา..........กำหนดเป็นตัวเลข 8 ตัว ดังนี้
ตัวอักษรภาษาอังกฤษ 2 ตัวแรก แสดงรหัสคณะแพทยศาสตร์ 
MD xxx xxx 
ตัวเลข 2 ตัวแรก หมายถึง ภาควิชาที่สอนวิชานั้นตามระบบรหัสวิชา มหาวิทยาลัยขอนแก่น    
50x xxx          หมายถึง  ฝ่ายวิชาการ คณะเแพทยศาสตร์
56x xxx    หมายถึง ฝ่ายบัณฑิตศึกษา คณะแพทยศาสตร์ 
….x xxx       หมายถึง ภาควิชา..............คณะเแพทยศาสตร์
93x xxx    หมายถึง ฝ่ายแพทยศาสตรศึกษา คณะแพทยศาสตร์ 
ตัวเลขตัวที่ 3     หมายถึง ระดับของรายวิชา 
ตัวเลขตัวที่ 7     หมายถึงวิชาระดับบัณฑิตศึกษา
ตัวเลขตัวที่ 4     หมายถึง ปีที่เรียน
ตัวเลขตัวที่ 5-6  หมายถึง ลำดับที่ของวิชา

 

จำนวนหน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า  48  หน่วยกิต
 

โครงสร้างหลักสูตร                                            

 

จำนวนหน่วยกิต


 

48

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร

หมวดวิชาบังคับ 
หมวดวิชาเลือก

44
4

รายวิชา

ดูเพิ่มเติม

รายวิชา (*รายวิชาที่เปิดใหม่ )

     1.1 หมวดวิชาบังคับ 44  หน่วยกิต

 MD 507 102

 ระเบียบวิธีวิจัยทางการแพทย์
 Research Methodology in Medicine 

1 (1-0-2)

MD 507 101

 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ
 General Knowledge of Civil Service

1 (1-0-2)

MD 567 101

 ความสัมพันธ์ของวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน กับวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก
 Correlation of Basic Medical Sciences and Clinical Medical Sciences

1 (1-0-2)

MD 937 101

 การเป็นนักวิชาชีพเวชกรรม
 Medical Professionalism

1 (1-0-2)

MD 411 725

 ภาษาอังกฤษเทคนิคสำหรับแพทย์ประจำบ้าน
 Technical English for Medical Residents

1 (0-3-2)

MD 657 101

 พยาธิวิทยา 1
 Pathology I

8 (2-18-13)

MD 657 102

 พยาธิวิทยา 2
 Pathology II

9 (2-21-15)

MD 657 201

 พยาธิวิทยา 3
 Pathology III

11 (1-30-17)

MD 657 202

 พยาธิวิทยา 4
 Pathology IV

11 (1-30-17)

 

     1.2 หมวดวิชาเลือก 4  หน่วยกิต

 MD 657 203

 พยาธิวิทยาของกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อน
 Pathology of Bone and Soft Tissue 

1 (0-3-2)

MD 657 204

 พยาธิวิทยาของตับ ทางเดินน้ำดี ตับอ่อน และทางเดินอาหาร
 Pathology of Hepatobiliary System, Pancreas and Gastrointestinal tract

1 (0-3-2)

MD 657 205

 พยาธิวิทยาของไต ระบบทางเดินปัสสาวะ และระบบสืบพันธุ์เพศชาย
 Pathology of Kidney, Urinary, and Male reproductive systems

1 (0-3-2)

MD 657 206

 พยาธิวิทยาของช่องปาก โสต ศอ นาสิก ลาริงซ์ และต่อมน้ำลาย
 Pathology of Oral Cavity, Head and Neck, Salivary gland 

1 (0-3-2)

MD 657 207

 พยาธิวิทยาของระบบประสาท
 Pathology of Nervous System

1 (0-3-2)

MD 657 208

 โลหิตพยาธิวิทยา
 Hematopathology

1 (0-3-2)

MD 657 209

 พยาธิวิทยาของระบบสืบพันธุ์สตรี
 Pathology of Female Reproductive System **

1 (0-3-2)

MD 657 210

 พยาธิวิทยาของเต้านม
 Pathology of Breast *

1 (0-3-2)

MD 657 211

 เซลล์พยาธิวิทยา
 Cytopathology *

1 (0-3-2)

ตัวอย่างแผนการสอน

ดูเพิ่มเติม

คำอธิบายรายวิชา (*รายวิชาใหม่, **รายวิชาเปลี่ยนแปลงใหม่) 


411 725 ภาษาอังกฤษเทคนิคสำหรับแพทย์ประจำบ้าน   1 (0-3-2)                                                                                   
Technical English for Medical Residents 
ฝึกทักษะทั้ง 4  คือ ฟัง พูด อ่าน และเขียน ใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอนในหลักสูตรนี้ รายวิชานี้มุ่งส่งเสริมสมรรถนะทั้ง 4 ของผู้เรียนเพื่อให้ได้วัตถุประสงค์ทั้งทางด้านวิชาการและวิชาชีพเพื่อเกิด การสื่อสารที่เกิดผล เป้าหมายสูงสุดของรายวิชานี้อยู่ที่สามารถทำให้ผู้ศึกษาเป็นผู้เรียนที่มีจุดนำด้วยตนเอง

 

MD 507 102  ระเบียบวิธีวิจัยทางการแพทย์   1 (1-0-2)
Research Methodology in Medicine
ระเบียบวิธีวิจัยในงานระบาดวิทยาคลินิก การประเมินค่าอย่างวิกฤติถึงวรรณกรรม การเขียน  โครงร่างวิจัย กระบวนการทำวิจัยทางคลินิก จริยธรรมในการวิจัย และการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ ในวารสารทางการแพทย์ 

 

MD 567 101  ความสัมพันธ์ของวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน กับวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก   1 (1-0-2)    
Correlation of Basic Medical Sciences and Clinical Medical Sciences
วิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานที่สำคัญวิทยาภูมิคุ้มกัน พยาธิสรีรวิทยา เภสัชวิทยาการประยุกต์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทางคลินิก ความก้าวหน้าล่าสุดและแนวคิดใหม่ ๆ ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์

 

MD 657 101  พยาธิวิทยา 1   8 (2-18-13)
Pathology I
หลักการทางด้านพยาธิวิทยากายวิภาค ความรู้เกี่ยวกับโรค การดูแลสิ่งส่งตรวจทางพยาธิวิทยา เทคนิคทางพยาธิวิทยา การตรวจศพ การบรรยายพยาธิสภาพที่ปรากฏให้เห็นด้วยตาเปล่า และกล้องจุลทรรศน์ การเขียนรายงานการตรวจศพ ค้นหาปัญหาคัดสรรทางพยาธิวิทยา การสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคคล ภาวะผู้นำ และการทำงานเป็นทีม

 

MD 657 102  พยาธิวิทยา 2   9 (2-21-15)
Pathology II
การตรวจศพทางพยาธิวิทยา การเขียนรายงานการตรวจอวัยวะต่างๆ ที่ด้วยตาเปล่าและด้วยกล้องจุลทรรศน์ การแปลผลและสรุปการวินิจฉัยขั้นสุดท้ายทางพยาธิวิทยา สาเหตุการตาย การตรวจสิ่งส่งตรวจทางศัลยพยาธิวิทยาและเซลล์พยาธิวิทยาทางสูตินรีเวช เทคนิคพิเศษทางพยาธิวิทยา การนำเสนอหัวข้อคัดสรรของปัญหาทางพยาธิวิทยา ข้อเสนอความก้าวหน้าของงานวิจัยทางพยาธิวิทยา การสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคคล ภาวะผู้นำ และการทำงานเป็นทีม

 

MD 657 201  พยาธิวิทยา 3   11 (1-30-17)
Pathology III
การตรวจและวินิจฉัยสิ่งส่งตรวจทางศัลยพยาธิวิทยาและเซลล์พยาธิวิทยาของระบบอื่นๆ    นอกเหนือจากระบบสืบพันธุ์สตรี การย้อมสีอิมมูโนพยาธิวิทยา การวินิจฉัยขั้นสุดท้ายทางพยาธิวิทยาในโรคต่างๆ การเลือกใช้ชนิดของการย้อมสีอิมมูโนพยาธิวิทยาและการแปลผล เทคโนโลยีการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยา ดูแลการฝึกปฏิบัติงานของแพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่ 1 และผู้ช่วยพยาธิแพทย์ หลักการและแนวทางปฏิบัติต่อการพัฒนาคุณภาพงานบริการพยาธิวิทยา การประกันคุณภาพห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยา ข้อเสนอความก้าวหน้าของงานวิจัยทางพยาธิวิทยา การสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคคล ภาวะผู้นำ และการทำงานเป็นทีม

 

MD 657 202  พยาธิวิทยา 4    11 (1-30-17)                                          
Pathology IV
การตรวจและวินิจฉัยสิ่งส่งตรวจทางศัลยพยาธิวิทยา เซลล์พยาธิวิทยาสิ่งส่งตรวจเยือกแข็งและความรู้เบื้องต้นในงานวินิจฉัยทางอณูพยาธิวิทยา การเขียนรายงานการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยาอย่างสมบูรณ์ การควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของแพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่ 1 และผู้ช่วยพยาธิแพทย์ การประกันคุณภาพห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยา การสรุปรายงานงานวิจัยของปัญหาทางพยาธิวิทยา การสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคคล ภาวะผู้นำ และการทำงานเป็นทีม

 

MD 657 203  พยาธิวิทยาของกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อน   1 (0-3-2)
Pathology of Bone and Soft Tissue 
ปฏิบัติการด้านการวินิจฉัยโรคทางพยาธิวิทยาของระบบกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อน ประกอบด้วยการประเมินผลในด้านรังสีวิทยา อิมมูโนฮีสโตเคมีและอณูพยาธิวิทยาของโรคกระดูก และการจำแนกชนิดเนื้องอก

 

MD 657 204  พยาธิวิทยาของระบบตับ ตับอ่อน ทางเดินน้ำดี และระบบทางเดินอาหาร    1 (0-3-2)
Pathology of Hepatopancreaticobiliary Systemand Gastrointestinal Tract System
พยาธิวิทยา พยาธิกำเนิด และการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยาและอณูพยาธิวิทยาของโรคตับ ตับอ่อน  ทางเดินน้ำดี และทางเดินอาหาร

 

MD 657 205  พยาธิวิทยาของไต ทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์เพศชาย   1 (0-3-2)
Pathology of Kidney, Urinary Tract, and Male Reproductive Systems
พยาธิวิทยา พยาธิกำเนิด และการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยาและอณูพยาธิวิทยาของโรค ไต ทางเดินปัสสาวะ และระบบสืบพันธุ์เพศชาย

 

MD 657 206  พยาธิวิทยาของช่องปาก ศีรษะ ลำคอ และต่อมน้ำลาย   1 (0-3-2)
Pathology of Oral Cavity, Head, Neck, and Salivary gland
พยาธิวิทยา พยาธิกำเนิด และการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยาและอณูพยาธิวิทยาของโรคช่องปาก ศีรษะ ลำคอ และต่อมน้ำลาย

 

MD 657 207  พยาธิวิทยาของระบบประสาท   1 (0-3-2)
Pathology of Nervous System
พยาธิวิทยา พยาธิกำเนิด และการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยาและอณูพยาธิวิทยาของโรคระบบประสาท

 

MD 657 208  โลหิตพยาธิวิทยา   1 (0-3-2)
Haematopathology 
พยาธิวิทยาการจำแนกโรค และหลักการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยาและอณูพยาธิวิทยาของโรคระบบเนื้อเยื่อน้ำเหลือง ไขกระดูก และเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้อง

 

MD 657 209  พยาธิวิทยาของระบบสืบพันธุ์สตรี   1 (0-3-2)     
Pathology of Female Reproductive System
พยาธิวิทยา พยาธิกำเนิด และการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยาและอณูพยาธิวิทยาของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง

 

MD 657 210  พยาธิวิทยาของเต้านม   1 (0-3-2)
Pathology of Breast 
พยาธิวิทยา พยาธิกำเนิด และการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยาและอณูพยาธิวิทยาของเต้านม

 

MD 657 211  เซลล์พยาธิวิทยา   1 (0-3-2)
Cytopathology 
พยาธิวิทยา พยาธิกำเนิด และการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยาและอณูพยาธิวิทยาของเซลล์พยาธิวิทยา

 

MD 937 101 การเป็นนักวิชาชีพเวชกรรม   1 (1-0-2)
Medical Professionalism
ให้ความหมายของวิชาชีพและเข้าใจองค์ประกอบของวิชาชีพการแพทย์เกี่ยวกับความปลอดภัยคงดำเนินการทำคุณภาพให้ดีขึ้นและทำให้เกิดความเป็นผู้นำ ทักษะในการให้เหตุผลทางคลินิกที่สำคัญต่อแพทยศาสตร์ ทักษะทางการสื่อสารที่ก้าวหน้าในทางด้านการแพทย์ และการสื่อสารที่มีคนไข้เป็นศูนย์ ทักษะการสอนทางคลินิก หลักของชีวจริยธรรม และการตัดสินใจในกรณี จริยธรมและความเสมอภาค หลักการดูแลแบบการลดความเจ็บปวดฝึกทักษะทั้ง 4  คือ ฟัง พูด อ่าน และเขียน ใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอนในหลักสูตรนี้  รายวิชานี้มุ่งส่งเสริมสมรรถนะทั้ง 4 ของผู้เรียนเพื่อให้ได้วัตถุประสงค์ทั้งทางด้านวิชาการและวิชาชีพ เพื่อเกิดการสื่อสารที่เกิดผล เป้าหมายสูงสุดของรายวิชานี้อยู่ที่สามารถทำให้ผู้ศึกษาเป็นผู้เรียนที่มีจุดนำด้วยตนเอง 
 

คำอธิบายรายวิชา

ดูเพิ่มเติม