หน่วยศัลยพยาธิวิทยา
เซลล์วิทยา
จุลทรรศน์อิเล็กตรอน
พยาธิวิทยาระดับโมเลกุล
สแกนสไลด์
เซลล์พันธุศาสตร์
วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาธิวิทยา

วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาธิวิทยา

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ซ่อนรายละเอียด

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาธิวิทยา

ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วท.ม. (พยาธิวิทยา)

ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Master of Science Program in Pathology

ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : M.Sc. (Pathology)

ปรัญญาหลักสูตร

ดูเพิ่มเติม

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาธิวิทยา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้ 
            (1)  มีความรู้ความเข้าใจเชิงลึกในหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชาพยาธิวิทยา ตลอดจนความรู้ด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่ และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ดังกล่าวในการประกอบอาชีพได้ 
            (2)  มีความรู้และความสามารถในการทำวิจัยโดยบูรณาการองค์ความรู้ที่ได้จากการเรียนและองค์ความรู้ใหม่ เพื่อการแก้ปัญหาทางวิชาการหรือการปฏิบัติงานที่ซับซ้อนหรือการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่หรือวิธีปฏิบัติงานใหม่ๆ ในสาขาวิชาพยาธิวิทยา
            (3)  มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การสื่อสาร การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการสมัยใหม่ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาความรู้และการนำไปใช้ประโยชน์ได้ในวงกว้าง
            (4)  มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ/วิชาชีพ และมีภาวะผู้นำและเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
            (5)   มีทักษะในการวางแผน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำ และสมาชิกกลุ่ม
 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ดูเพิ่มเติม
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาธิวิทยา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มุ่งผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจเชิงลึกในหลักการและแนวคิดที่สำคัญในสาขาวิชาพยาธิวิทยา และศาสตร์ในสาขาวิชาอื่นที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน มีความสามารถในการทำวิจัยโดยบูรณาการองค์ความรู้ต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อนและถ่ายทอดความรู้เพื่อให้เกิดการพัฒนาในสาขาวิชาพยาธิวิทยา ได้ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ มีภาวะผู้นำและเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ

โครงสร้างหลักสูตร

ดูเพิ่มเติม

คำอธิบายระบบรหัสวิชา
รหัสวิชาของสาขาวิชาพยาธิวิทยา กำหนดเป็นตัวเลข 8 ตัว ดังนี้
ตัวอักษรภาษาอังกฤษ 2 ตัวแรก แสดงรหัสคณะแพทยศาสตร์
MD xxx xxx
ตัวเลข 2 ตัวแรก หมายถึง ภาควิชาที่สอนวิชานั้นตามระบบรหัสวิชา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
50x xxx          หมายถึง  ฝ่ายวิชาการ คณะเแพทยศาสตร์
56x xxx          หมายถึง  ฝ่ายบัณฑิตศึกษา คณะเแพทยศาสตร์
65x xxx          หมายถึง  ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะเแพทยศาสตร์
93x xxx          หมายถึง  ฝ่ายแพทยศาสตรศึกษา คณะแพทยศาสตร์
ตัวเลขตัวที่ 3    หมายถึง  ระดับของรายวิชา 
ตัวเลขตัวที่ 7     หมายถึง วิชาระดับบัณฑิตศึกษา
ตัวเลขตัวที่ 4     หมายถึง  ปีที่เรียน  
ตัวเลขตัวที่ 5-6     หมายถึง  ลำดับที่ของวิชา


จำนวนหน่วยกิต    
    แผน ก แบบ ก 2    ไม่น้อยกว่า   36    หน่วยกิต 

โครงสร้างหลักสูตร                                            

 

จำนวนหน่วยกิต


แผน ก แบบ ก 2

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า

36

หมวดวิชาบังคับ 
หมวดวิชาเลือก
วิทยานิพนธ์

8
13
15

 

รายวิชา

ดูเพิ่มเติม

รายวิชา (*รายวิชาที่เปิดใหม่ )

     1.1 หมวดวิชาบังคับ 8  หน่วยกิต

 MD 567 714

 ระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์
 Medical Science Research Methodology 

3 (2-3-6)

MD 658 128

 สาระสำคัญพยาธิวิทยา
 Essential Pathology  

2 (2-0-4)

MD 658 129

 ปฏิบัติการสาระสำคัญพยาธิวิทยา 
 Essential Pathology Laboratory

1 (0-3-2)

MD 658 891

 สัมมนาทางพยาธิวิทยา 1
 Seminar in Pathology I

1 (1-0-2)

MD 658 892

 สัมมนาทางพยาธิวิทยา 2
 Seminar in Pathology II

1 (1-0-2)

 

     1.2 หมวดวิชาเลือก 13  หน่วยกิต

MD 567 712

 เซลล์และชีววิทยาระดับโมเลกุล
 Cells and Molecular Biology 

3 (3-0-6) 

MD 567 713

 เทคนิคทางห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์การแพทย์
 Laboratory Techniques in Medical Sciences

3 (0-6-3)

MD 658 130

 เทคนิคทางศัลยพยาธิวิทยา
 Techniques in Surgical Pathology

3 (2-3-6)

MD 658 133

 เทคนิคทางจุลพยาธิวิทยา
 Techniques in Histopathology

3 (1-6-5)

MD 658 134

 เทคนิคทางฮิสโตเคมี
 Techniques in Histochemistry

3 (1-6-5)

MD 658 138

 เทคนิคทางอิมมูโนฮิสโตเคมี
 Techniques in Immunohistochemistry

3 (1-6-5)

MD 658 139

 เทคนิคและการจัดการการตรวจศพ
 Autopsy Techniques and Management

3 (2-3-6)

MD 658 143

 การจัดการงานบริการพยาธิวิทยากายวิภาค
 Anatomic Pathology Service Management

2 (1-3-4)

MD 658 144

 เซลล์วิทยานรีเวช
 Gynecological Cytology

3 (2-3-6)

MD 658 145

 เซลล์วิทยานอกระบบนรีเวช
 Non-Gynecological Cytology

3 (2-3-6)

MD 658 146

 เซลล์วิทยาการเจาะดูดด้วยเข็ม
 Fine Needle Aspiration Cytology 

3 (1-6-5)

MD 658 148

 เซลล์พันธุศาสตร์ทางการแพทย์
 Medical Cytogenetics

3 (2-3-6)

MD 658 149

 พันธุศาสตร์ทางการแพทย์ระดับโมเลกุล 
 Molecular Medical Genetics    

2 (1-3-4) 

*MD 658 150

 หัวข้อพิเศษทางพยาธิวิทยา
 Special topics in Pathology

2 (2-0-4)

MD 658 289

 ฝึกปฏิบัติทางเซลล์วิทยา
 Practice in Cytology

2 (0-6-3)

MD 658 290

 ฝึกปฏิบัติเซลล์พันธุศาสตร์ทางการแพทย์
 Practice in Medical Cytogenetics

2 (0-6-3)

MD 658 293

 ฝึกปฏิบัติงานพันธุศาสตร์ทางการแพทย์ระดับโมเลกุล
 Practice in Molecular Medical Genetics

3 (0-9-6)

MD 658 295

 ฝึกปฏิบัติทางเซลล์วิทยานรีเวช
 Practice in Gynecological Cytology

2 (0-6-3)

*MD 658 296

 การทดลองเชิงพยาธิวิทยา
 Experimental Pathology

3 (1-6-2)

 

หมวดวิชาเลือกไม่น้อยกว่า 13 หน่วยกิต หรือรายวิชาอื่น ๆ  ในระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งมีการเปิดสอนเพิ่มเติมภายหลัง นักศึกษาสามารถเลือกเรียนรายวิชา โดยความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษาจากรายวิชาต่างๆ โดยความเห็นชอบของภาควิชาฯ
 

     1.3 วิทยานิพนธ์ 15  หน่วยกิต

MD 658  899

 วิทยานิพนธ์
 Thesis 

 

ตัวอย่างแผนการสอน

ดูเพิ่มเติม

Master’s and Doctoral degree programs in Chinese or other fields of study, both in Thailand and abroad.

Master’s and Doctoral degree programs in Chinese or other fields of study, both in Thailand and abroad.

Master’s and Doctoral degree programs in Chinese or other fields of study, both in Thailand and abroad.

คำอธิบายรายวิชา

ดูเพิ่มเติม

MD 567 712  เซลล์และชีววิทยาระดับโมเลกุล    3 (3-0-6)
Cells and Molecular Biology
ชีวโมเลกุลและองค์ประกอบระดับโมเลกุลภายในเซลล์ พลังงานระดับเซลล์ และเมแทบอลิซึม โครงสร้างจีโนมและการควบคุมยีน โครงสร้างระดับโมเลกุลของเซลล์และหน้าที่ของเซลล์ วัฏจักรการแบ่งตัวของเซลล์ การเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงลักษณะจำเพาะของเซลล์ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างเซลล์และการสื่อสารระหวางเซลล์ ระบบภูมิคุ้มกัน กลไกการเกิดโรคระดับโมเลกุลและระดับเซลล์ ชีววิทยามะเร็ง การบำรุงรักษาและควบคุมกลไกชีวิต

 

MD 567 713  เทคนิคทางห้องปฏิบัติการวิทยาศาตร์การแพทย์   3 (0-6-3)
Laboratory Techniques in Medical Sciences
หลักการและเทคนิคต่างๆ ทางห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ เทคนิคพื้นฐานทางชีวเคมี ชีววิทยาโมเลกุลจุลชีววิทยา วิทยาภูมิคุ้มกัน ปรสิตวิทยา พยาธิวิทยา กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา ประสาทวิทยาศาสตร์ และเภสัชวิทยา รวมถึงปฏิบัติการสัตว์ทดลอง

 

MD 567 714 ระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์   3 (2-3-6)
Medical Science Research Methodology
หลักการ รูปแบบการวิจัยและระเบียบวิธีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ สถิติวิเคราะห์เชิงปฏิบัติที่เหมาะสมในวิทยาศาสตร์การแพทย์รวมทั้งการนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบต่างๆ จรรยาบรรณนักวิจัย จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ และจรรยาบรรณการใช้สัตว์ทดลอง

 

MD 658 128  สาระสำคัญพยาธิวิทยา   2 (2-0-4)
Essential Pathology
หลักการทางพยาธิวิทยาของโรคในคน สาเหตุและกลไกการเกิดโรค ลักษณะของโรคเมื่อดูด้วยตาเปล่าและในระดับกล้องจุลทรรศน์ และหน้าที่การทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป กระบวนการทางพยาธิวิทยาทั่วไป การบาดเจ็บของเซลล์ การอักเสบและการซ่อมแซม ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน การรบกวนสมดุลของน้ำและการไหลเวียนเลือด โรคติดเชื้อ เนื้องอกธรรมดาและมะเร็ง ความผิดปกติทางพันธุกรรม และหัวข้อพิเศษ

 

MD 658 129  ปฏิบัติการสาระสำคัญพยาธิวิทยา   1 (0-3-2)
Essential Pathology Laboratory
ปฏิบัติการทางพยาธิวิทยา การบาดเจ็บของเซลล์ การปรับตัวของเซลล์ การรบกวนสมดุลของน้ำและการไหลเวียนเลือด การอักเสบและการซ่อมแซม การติดเชื้อ การศึกษาเนื้องอกธรรมดาและมะเร็ง ด้วยตาเปล่าด้วยกล้องจุลทรรศน์

 

MD 658 130  เทคนิคทางศัลยพยาธิวิทยา   3 (2-3-6)      
Techniques in Surgical Pathology
การตรวจด้วยตาเปล่าทางศัลยพยาธิวิทยา และเลือกตัวอย่างเนื้อเยื่อผิวหนัง เนื้อเยื่ออ่อน ต่อมน้ำเหลือง เนื้อเยื่อเล็กอื่นๆ เนื้อเยื่อจากระบบหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบทางเดินอาหาร ระบบสืบพันธุ์ เต้านม ระบบทางเดินปัสสาวะ ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต ต่อมไทมัส กล้ามเนื้อ กระดูก และระบบประสาท

 

MD 658 133  เทคนิคทางจุลพยาธิวิทยา   3 (1-6-5)             
Techniques in Histopathology
เงื่อนไขรายวิชา : ไม่มี
หลักการเตรียมเนื้อเยื่อบนแผ่นสไลด์แก้ว การเตรียมเนื้อเยื่อ การตัดบลอคชิ้นเนื้อพาราฟฟินด้วยเครื่องตัดชิ้นเนื้อบาง การตัดเนื้อเยื่อแช่แข็ง ทฤษฎีการย้อมสีและการประยุกต์ใช้ สีฮีมาท็อกซิลินและอีโอซิน เทคนิคก้าวหน้าและเครื่องมือทำงานด้วยตนเอง

 

MD 658 134  เทคนิคทางฮิสโตเคมี   3 (1-6-5)             
Techniques in Histochemistry 
การย้อมสีเนื้อเยื่อทางเคมีของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน โปรตีน กรดอะมิโน แอมีลอยด์ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน รงควัตถุ และแร่ธาตุ จุลชีพ องค์ประกอบภายในเซลลล์ และเนื้อเยื่อพิเศษ

 

MD 658 138  เทคนิคทางอิมมูโนฮิสโตเคมี   3 (1-6-5)
Techniques in Immunohistochemistry
หลักการของอิมมูโนฮิสโตเคมี เทคนิคที่ใช้บ่อย เครื่องมือและการทำงานด้วยตนเอง แอนติบอดีสำหรับตัวบ่งชี้เนื้องอกธรรมดาและมะเร็ง เยื่อบุผิว เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เนื้องอกจากเซลล์ต้นกำเนิด นิวโรเอ็นโดไครน์ เม็ดเลือดขาว เนื้อเยื่ออื่นๆ ฮอร์โมน รีเซ็บเตอร์ อองโคโปรตีน

 

MD 658 139  เทคนิคและการจัดการการตรวจศพ   3 (2-3-6)                  
Autopsy Techniques and Management
แนวคิดของการตรวจศพ เทคนิคทั่วไปในการตรวจศพ และการช่วยตรวจศพ การถ่ายภาพ การเก็บตัวอย่าง ระบบหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ช่องปากและทางเดินอาหาร ระบบสืบพันธุ์ ระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบประสาทส่วนกลาง ระบบอื่นๆ การช่วยตรวจศพทารก ห้องตรวจศพและเครื่องมือ

 

MD 658 143  การจัดการงานบริการพยาธิวิทยากายวิภาค   2 (1-3-4)
Anatomic Pathology Service Management                                                      
ขอบเขตของการบริการทางพยาธิวิทยา กระบวนการทำงานและการออกแบบพื้นที่ใช้งานของห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยา เครื่องมือพื้นฐาน การบริการพยาธิวิทยาก้าวหน้าและเครื่องมือ การจัดการคลังวัสดุ ระบบจัดการตัวอย่างส่งตรวจ การวินิจฉัยและรายงานผล การจัดการข้อมูล การเก็บรักษาความลับผู้ป่วย ข้อคำนึงทางจริยธรรมและกฎหมาย ระบบการจัดการเรื่องคุณภาพ องค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยา โครงการจัดตั้งและบริหารจัดการห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยากายวิภาค

 

MD 658 144  เซลล์วิทยานรีเวช    3 (2-3-6)
Gynecological Cytology
เงื่อนไขรายวิชา : ไม่มี
เซลล์วิทยาของระบบอวัยวะสืบพันธุ์สตรี  ในสภาวะปกติ และที่เป็นโรค จากการอักเสบ ระยะก่อนเป็นมะเร็งและมะเร็ง ผลของการใช้เคมีบำบัดหรือรังสีรักษา

MD 658 145  เซลล์วิทยานอกระบบนรีเวช   3 (2-3-6)
Non- Gynecological Cytology
เงื่อนไขรายวิชา : ไม่มี
เซลล์วิทยาจากเซลล์ที่ลอกหลุดออกมาเองจากน้ำเยื่อหุ้มปอด น้ำจากเยื่อหุ้มหัวใจ น้ำจากช่องท้อง และน้ำจากไขสันหลัง ระบบทางเดินหายใจ และระบบทางเดินปัสสาวะ ทั้งในสภาวะปกติและในสภาวะที่เป็นโรคซึ่งประกอบด้วยภาวะจากการอักเสบ ระยะก่อนเป็นมะเร็งและมะเร็ง

MD 658 146  เซลล์วิทยาการเจาะดูดด้วยเข็ม   3 (1-6-5) 
Fine Needle Aspiration Cytology
เงื่อนไขรายวิชา : ไม่มี
ลักษณะทางกายวิภาค มิญชวิทยา พยาธิวิทยา และเซลล์วิทยาของร่างกายจากการเจาะดูดเซลล์จากอวัยวะต่างๆ เช่น เต้านม ตับ ต่อมน้ำเหลือง ต่อมไทรอยด์ ต่อมน้ำลาย ที่มีการอักเสบ ที่เป็นเนื้องอกธรรมดา และมะเร็ง

MD 658 148  เซลล์พันธุศาสตร์ทางการแพทย์   3 (2-3-6)
Medical Cytogenetics
เงื่อนไขรายวิชา : ไม่มี
ความรู้พื้นฐานด้านโครโมโซมของมนุษย์ โครงสร้างและหน้าที่ของโครโมโซม พฤติกรรมของโครโมโซมในระยะที่เซลล์มีการแบ่งตัว ระบบการเรียกชื่อทางเซลล์พันธุศาสตร์ และความผิดปกติของโครโมโซม ในโรคทางพันธุกรรม และมะเร็งที่มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของโครโมโซม ตำแหน่งสำคัญบนโครโมโซมเพื่อการทำแผนที่จีนและการหาจีนที่สัมพันธ์กับโรคทางพันธุกรรมและมะเร็ง

MD 658 149  พันธุศาสตร์ทางการแพทย์ระดับโมเลกุล   2 (1-3-4)
Molecular Medical Genetics    
เงื่อนไขรายวิชา : ไม่มี
กระบวนการเกิดโรคในระดับโมเลกุล โครงสร้างระดับโมเลกุลของจีโนมและจีน ขั้นตอนการถ่ายทอดข้อมูลทางพันธุกรรม การกลายพันธุ์ของจีนในรูปแบบต่างๆ และผลจากการกลายพันธุ์ โรคทางพันธุกรรมที่พบบ่อยทั้งสาเหตุจากจีนเดี่ยวและสาเหตุที่ประกอบด้วยหลายจีนและปัจจัยอื่น พันธุศาสตร์ของมะเร็งโดยศึกษาทั้งมะเร็งชนิดที่มีและไม่มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม และจีนที่สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็ง

*MD 658150  หัวข้อพิเศษทางพยาธิวิทยา   2 (2-0-4)
Special topics in Pathology
เงื่อนไขของรายวิชา : ไม่มี
การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ การสืบค้นข้อมูลผลงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ การอ่าน การคิดวิเคราะห์ และแปลผลข้อมูลงานวิจัยด้านพยาธิวิทยา อณูชีววิทยาทางพยาธิวิทยาและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องอย่างมีวิจารณญาณ โดยมีการนำเสนอและอภิปรายร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษาและคณาจารย์ และส่งรายงานสรุปบทความเป็นรูปเล่ม

MD 658 289  ฝึกปฏิบัติทางเซลล์วิทยา   2 (0-6-3)             
Practice in Cytology 
เงื่อนไขรายวิชา : ไม่มี
ฝึกปฏิบัติทางเซลล์วิทยาแต่ละระบบ การเตรียมสไลด์ การย้อมสีสไลด์ การวินิจฉัยทางเซลล์วิทยา

MD 658 290  ฝึกปฏิบัติเซลล์พันธุศาสตร์ทางการแพทย์   2 (0-6-3)
Practice in Medical Cytogenetics
เงื่อนไขรายวิชา : ไม่มี
การฝึกปฏิบัติงานเซลล์พันธุศาสตร์เพื่อการวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมและมะเร็ง การเพาะเลี้ยงเซลล์ให้ได้โครโมโซมในระยะเมตาเฟส การเก็บเกี่ยวโครโมโซม การเตรียมสไลด์เมตาเฟสโครโมโซม การย้อมโครโมโซม การวิเคราะห์โครโมโซมด้วยกล้องจุลทรรศน์ การถ่ายภาพ และการจัดคาริโอไทป์ ฝึกปฏิบัติตรวจวิเคราะห์โครโมโซมและการแปลผลจากตัวอย่างสิ่งส่งตรวจ

MD 658 293  ฝึกปฏิบัติงานพันธุศาสตร์ทางการแพทย์ระดับโมเลกุล   3 (0-9-6)
Practice in Molecular Medical Genetics    
เงื่อนไขรายวิชา : ไม่มี             
การฝึกปฏิบัติงานการตรวจและการแปลผล โดยใช้เทคนิคทางชีววิทยาระดับโมเลกุล และการประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัยโรค เช่น การใช้เทคนิคฟลูออเรสเซนซ์ไฮบริดไดเซชั่นในการวินิจฉัยมะเร็งเม็ดเลือดขาว และกลุ่มอาการที่เกิดจากไมโครดีลีชั่น 

MD 658 295  ฝึกปฏิบัติทางเซลล์วิทยานรีเวช   2 (0-6-3)             
Practice in Gynecological Cytology
เงื่อนไขรายวิชา : ไม่มี
ฝึกปฏิบัติการตรวจคัดกรองทางเซลล์วิทยาของระบบนรีเวช การเตรียมสไลด์ การย้อมสีสไลด์ การวินิจฉัยทางเซลล์วิทยา

*MD 658 296  การทดลองเชิงพยาธิวิทยา    3 (1-6-2)
Experimental Pathology
เงื่อนไขของรายวิชา : ไม่มี
การปฏิบัติการทดลองที่ดี การทดลองและการออกแบบการทดลองเชิงพยาธิวิทยา เทคนิคทางพยาธิวิทยาและเทคนิคทางพยาธิวิทยาทางอณูชีวโมเลกุล การทำการทดลอง เขียนรายงานผลการทดลอง นำเสนอผลการทดลองของโครงการวิจัยที่กี่ยวข้องกับงานวิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์

MD 658 891  สัมมนาทางพยาธิวิทยา 1   1 (1-0-2)
Seminar in Pathology I
เงื่อนไขรายวิชา : ไม่มี
ทักษะการค้นคว้า และมีการทำงานเป็นกลุ่ม ในการรวบรวมและเรียบเรียงงานวิจัยสาขาวิชาพยาธิวิทยา จากการทดลองวิจัย และ/หรือ รายงาน และเอกสารตีพิมพ์ระดับนานาชาติ ที่ผ่านมาไม่นาน และนำเสนอข้อมูล ให้มีความชัดเจน ถูกต้องและมีเหตุผล สามารถตอบคำถามของผู้ฟัง ได้อย่างถูกต้องและน่าเชื่อถือ

MD 658 892   สัมมนาทางพยาธิวิทยา 2   1 (1-0-2)
Seminar in Pathology II
เงื่อนไขรายวิชา : ไม่มี
ทักษะการค้นคว้า รวบรวมและเรียบเรียงงานวิจัยสาขาวิชาพยาธิวิทยา จากการทดลองวิจัย และ/หรือ รายงาน และเอกสารตีพิมพ์ระดับนานาชาติ ที่ผ่านมาไม่นาน ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเป็นแนวทางในการจัดทำเค้าโครงวิทยานิพนธ์ เพื่อฝึกการนำเสนอข้อมูล ให้มีความชัดเจน ถูกต้องและมีเหตุผล รวมทั้งสามารถตอบคำถามของผู้ฟัง ได้อย่างถูกต้องและน่าเชื่อถือ

MD 658 899  วิทยานิพนธ์   15 (0-0-0)
Thesis
เงื่อนไขรายวิชา : ไม่มี
การทำวิจัยและเขียนผลงานวิจัยในรูปวิทยานิพนธ์ โดยแสดงความสามารถในด้านการดำเนินการวิจัย ความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาอันนำไปสู่การแสวงหาความรู้ใหม่และประยุกต์ใช้ความรู้ใหม่นั้นเพื่อแก้ปัญหาทางด้านการแพทย์ สาธารณสุขและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยอยู่ภายใต้การควบคุมของกรรมการปรึกษาวิทยานิพนธ์ จริยธรรมในการวิจัยและการเขียนบทความวิจัย