หน่วยศัลยพยาธิวิทยา
เซลล์วิทยา
จุลทรรศน์อิเล็กตรอน
พยาธิวิทยาระดับโมเลกุล
สแกนสไลด์
เซลล์พันธุศาสตร์
ตรวจศพ

ตรวจศพ

05-08-2021

การตรวจศพ

การตรวจศพ
ให้บริการตรวจศพที่เสียชีวิตในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ที่ไม่มีปัญหาทางกฎหมาย

การส่งศพตรวจทางพยาธิวิทยา
1. การขอตรวจศพ
    1.1 เมื่อผู้ป่วยเสียชีวิตในโรงพยาบาลศรีนครินทร์และต้องการทำการตรวจศพทางพยาธิวิทยาให้ดำเนินการขอความยินยอมจากญาติหรือผู้มีอำนาจจัดการเกี่ยว กับศพตามกฎหมายเพื่อให้อนุญาตทำการตรวจศพก่อนการส่งตรวจศพทุกรายโดยต้องแจ้งญาติหรือผู้มีอำนาจจัดการเกี่ยวกับศพให้ทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจศพที่ถูกต้องด้วยทุกครั้ง (ดูข้อ4.3)
หมายเหตุ 1.1 แพทย์ผู้ขอตรวจศพจำเป็นต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องและไม่บิดเบือนกับญาติผู้ป่วยผู้ให้ความยินยอมให้ตรวจศพทุกครั้งเพื่อป้องกัน ปัญหาของการถูกกล่าวหาว่าหลอกลวงโดยเฉพาะเรื่องของบาดแผลจากการตรวจศพเวลารับศพและการคงอยู่ของอวัยวะที่นำออกมาตรวจ เมื่อได้รับความยินยอมให้ตรวจศพจากบุคคลตามข้อ 4.1.1 แล้วให้บุคคลนั้นลงนามอนุญาตในใบขอตรวจศพ (เอกสาร B) 
    1.2 บุคคลที่สามารถให้คำอนุญาตให้ตรวจศพได้คือบุคคลที่มีอำนาจทางกฎหมายในการจัดการกับศพนั้นโดยเรียงลำดับดังนี้
- สามีหรือภรรยาของผู้ตาย
- บุตรที่บรรลุนิติภาวะของผู้ตายตามลำดับ
- บิดามารดาของผู้ตาย
ตัวอย่าง : ถ้าผู้ตายมีสามีหรือภรรยาต้องให้สามีหรือภรรยาเท่านั้นในการลงลายมือชื่อในการให้อนุญาตเพื่อตรวจศพจะให้บุตรหรือบิดามารดาลงลายมือชื่อแทนไม่ได้เพราะสามีหรือภรรยาของผู้ตายสามารถคัดค้านในภายหลังได้แต่ถ้าสามีหรือภรรยาไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ให้ญาติในลำดับถัดไปลงลายมือชื่อแทนและให้ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหรือผู้แทนผู้อำนวยการเป็นผู้อนุมัติโดยผู้อำนวยการโรงพยาบาลหรือผู้แทนผู้อำนวยการลงลายมือชื่อที่หน้า 2 ของเอกสาร B

    1.3 ให้ลงรายละเอียดของประวัติการป่วยและการดำเนินโรครวมทั้งชื่อของแพทย์ผู้มีอำนาจในการขอตรวจศพในใบขอตรวจศพให้ละเอียด
    1.4 รวบรวมประวัติและบันทึกการรักษาของผู้ป่วยในขณะที่อยู่โรงพยาบาล
    1.5 ส่งใบขอตรวจศพพร้อมกับบันทึกการรักษาไปยังห้องตรวจศพ

2. การออกใบขอรับศพ
เมื่อได้รับใบแจ้งจากเจ้าหน้าที่ห้องตรวจศพว่าการตรวจศพเสร็จสิ้นแล้วให้หัวหน้าพยาบาลเวรประจำหอผู้ป่วยที่ส่งศพไปขอตรวจออกใบขอรับศพให้กับญาติหรือผู้มีอำนาจจัดการเกี่ยวกับศพตามกฎหมาย

3. รายละเอียดที่ต้องแจ้งญาติเกี่ยวกับการตรวจศพทางพยาธิวิทยา
    3.1 แพทย์ผู้ขอตรวจศพจะต้องแจ้งให้ญาติผู้ป่วยทราบว่าหลังการตรวจศพสภาพของศพจะต้องมีรอยแผลผ่าตัดขนาดใหญ่ซึ่งในการตรวจศพทางพยาธิวิทยาโดย ทั่วไปจะมีรอยแผล 2 รอยเป็นอย่างน้อยรอยแผลแรกจะปรากฏตั้งแต่บริเวณคอลงไปถึงหัวเหน่าและรอยแผลที่สองจะอยู่บริเวณด้านหลังของศีรษะโดยที่บาดแผล  เหล่านั้นจะมีการเย็บและ ตกแต่งแผลให้เรียบร้อย
    3.2 การตรวจศพจะต้องทำการเคลื่อนย้ายสมองอวัยวะภายในช่องอกและช่องท้องออกทั้งหมดรวมถึงอวัยวะหรือเนื้อเยื่ออื่นๆที่ทำการตรวจด้วย
    3.3 การตรวจศพจะใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงหลังจากเริ่มทำการตรวจถึงจะสามารถรับศพกลับได้ (สำหรับเวลาเริ่มตรวจศพให้ดูข้อ 4.4 และ 4.8)
    3.4 แจ้งเวลาประมาณในการขอรับศพกลับ (ดูรายละเอียดในข้อ 4.8)

4. รายละเอียดอื่นๆและข้อตกลงเกี่ยวกับการขอตรวจศพและการขอรับศพทางพยาธิวิทยา
    4.1 ศพที่ขอตรวจทางพยาธิวิทยาควรจะมีการตรวจเลือดเพื่อหาการติดเชื้อ HIV และควรลงผลการตรวจเลือดในใบขอตรวจศพทุกครั้ง
    4.2 ผู้ที่เสียชีวิตเนื่องจากสาเหตุเบื้องต้นเกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุการทำร้ายร่างกายหรือมีเหตุอันสงสัยเกี่ยวข้องกับการตายโดยผิดธรรมชาติให้ส่งศพตรวจทางนิติเวช
    4.3 การขอตรวจศพสามารถกระทำได้ตลอด 24 ชั่วโมง
    4.4 การตรวจศพจะกระทำต่อเมื่อศพใบขอตรวจศพที่ถูกต้องและบันทึกการรักษาตัวในโรงพยาบาลมาพร้อมที่ห้องตรวจศพแล้วและจะใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงหลังจากได้รับเอกสารดังกล่าวถูกต้องและครบถ้วนแล้วในกรณีที่ใบขอตรวจศพไม่ถูกต้องเช่นไม่มีลายมือชื่อญาติหรือผู้มีอำนาจจัดการศพอนุญาตให้มีการตรวจศพไม่มีลายมือชื่อของแพทย์ผู้มีอำนาจในการขอตรวจศพหรือรายละเอียดอื่นๆที่จำเป็นจะต้องแก้ไขให้ถูกต้องก่อนจึงจะทำการตรวจศพได้
    4.5 ห้ามส่งใบขอรับศพไปพร้อมกับใบขอตรวจศพเจ้าหน้าที่ห้องตรวจศพจำเป็นต้องดำเนินการจำหน่ายศพแก่ญาติทันทีถ้ามีใบขอรับศพมาด้วยดังนั้นไม่ควร ออกใบขอรับศพล่วงหน้าควรได้รับใบแจ้งจากเจ้าหน้าที่ห้องตรวจศพก่อนว่าได้ทำการตรวจศพเสร็จแล้วจึงออกใบขอรับศพให้แก่ญาติการขอตรวจศพไม่รวมถึงการฉีดน้ำยารักษาศพเจ้าหน้าที่ห้องตรวจจะทำการฉีดน้ำยารักษาศพให้ต่อเมื่อมีใบเสร็จค่าฉีดน้ำยารักษาศพมาแสดงเท่านั้น
    4.6 ถึงแม้ว่าญาติหรือผู้มีอำนาจจัดการศพตามกฎหมายจะยินยอมให้มีการตรวจศพและลงลายมือชื่ออนุญาตแล้วแต่ยังสามารถเปลี่ยนใจได้ดังนั้นการขอคำยินยอม จากญาติหรือผู้มีอำนาจจัดการศพควรจะชี้แจงถึงความจำเป็นและรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับการตรวจศพให้เข้าใจเพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาขึ้นภายหลัง
    4.7 การตรวจศพในกรณีศพไม่มีญาติหรือญาติมิได้มาติดต่อขอรับศพให้เก็บศพนั้นไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ป่วยถึงแก่กรรมและให้เสนอเรื่องต่อผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีนครินทร์หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจเพื่อพิจารณาอนุมัติให้ตรวจศพดังกล่าว
    4.8 ในกรณีที่ศพและเอกสารต่างๆมาถึงห้องตรวจศพหลังจากเวลา 17.00 น. การตรวจศพจะเริ่มดำเนินการเมื่อ 09.00 น. ของวันถัดไปในกรณีที่จำเป็นต้องทำการตรวจศพนอกเวลาราชการให้ติดต่อกับพยาธิแพทย์เจ้าของเวร
    4.9 ในกรณีที่มีปัญหาสงสัยเกี่ยวกับการขอตรวจศพให้แพทย์ที่จะขอตรวจติดต่อหัวหน้าภาควิชาพยาธิวิทยาหรือพยาธิแพทย์ผู้รับผิดชอบได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 63691, 63976 ในเวลาราชการ

 

การปฏิเสธสิ่งส่งตรวจงานบริการพยาธิวิทยา
    การส่งสิ่งตรวจในงานบริการพยาธิวิทยาทั้ง 4 หน่วยให้ปฏิบัติตามคำแนะนำในคู่มือการส่งตรวจอย่างเคร่งครัด เพราะหากเกิดความผิดพลาดประการใด อาจทำให้ไม่สามารถให้ผลการวินิจฉัยหรือการรายงานผลล่าช้าออกไปได้ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ป่วยโดยตรง ดังนั้นเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดกรณีดังกล่าวทางภาควิชาฯ จึงได้กำหนดเกณฑ์การปฏิเสธสิ่งส่งตรวจไว้ดังนี้
1. การกรอก ชื่อ สกุล และ H.N. ผู้ป่วยไม่ชัดเจนหรือเลอะเลือนทำให้ไม่สามารถระบุผู้ป่วยได้
2. ชื่อ สกุล และ H.N. ผู้ป่วยจากใบส่งตรวจไม่ตรงกันกับป้ายชื่อที่ติดมากับภาชนะส่งสิ่งส่งตรวจ
3. H.N. ของผู้ป่วยที่ระบุมาไม่ตรงกันกับข้อมูลของเวชระเบียน
4. ไม่ระบุชื่อหน่วยงานที่นำส่งทำให้ไม่สามารถติดต่อกลับได้ หากเกิดปัญหากับสิ่งส่งตรวจ
5. ไม่ระบุชื่อแพทย์เจ้าของไข้ (Attending staff) หรือแพทย์ประจำบ้าน (Resident)ทำให้ไม่สามารถติดต่อกลับทีมแพทย์ผู้รักษาได้หรือ หากพยาธิแพทย์ต้องการข้อมูลผู้ป่วยเพิ่มเติม
6. ไม่กรอกประวัติผู้ป่วย ผลการวินิจฉัยทางคลินิก (Clinical Diagnosis) หรือกรอกข้อมูลผู้ป่วยในใบส่งตรวจไม่ครบถ้วนส่งผลให้ไม่สามารถระบุอวัยวะที่นำส่ง หรือบ่งชี้รอยโรคในตำแหน่งที่ถูกต้องของผู้ป่วยได้
7. ชนิด อวัยวะ หรือ จำนวนของชิ้นเนื้อที่นำส่งรวมถึงจำนวนของภาชนะบรรจุสิ่งส่งตรวจไม่ตรงกันกับที่ระบุในใบนำส่งตรวจ
8. ชิ้นเนื้อส่ง Frozen section ที่มีขนาดใหญ่เกิน 1 เซนติเมตร
9. ชิ้นเนื้อที่มีการแบ่งบางส่วนของสิ่งส่งตรวจ (Specimen) ส่งตรวจทางพยาธิวิทยาที่ห้องปฏิบัติการอื่น
10. สิ่งส่งตรวจไม่เหมาะสม เช่น ไม่ห่อ Syringe ที่บรรจุสิ่งส่งตรวจ หรือมีเลือดปนเปื้อนด้านนอกของ Syringe ซึ่งอาจก่อให้เกิดการทิ่มตำของเข็ม หรืออันตรายแก่ผู้ปฏิบัติงานได้
11. การนำส่งสิ่งส่งตรวจไม่ตรงตามวันที่กำหนดโดยเฉพาะการเพาะเลี้ยงโครโมโซมจากเลือด น้ำคร่ำ และไขกระดูกนั้น มีระยะเวลาในการเตรียมตัวอย่างแต่ละชนิดต่างกันหลายวัน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องส่งสิ่งส่งตรวจแต่ละชนิด ตามวันและเวลาที่กำหนดเท่านั้น 
12. สิ่งส่งตรวจที่สงสัยเป็นโรคที่เกิดจากติดเชื้ออย่างรุนแรง เช่น Creutzfeldt-Jakob disease เป็นต้น  
13. สิ่งส่งตรวจที่มีสารกัมมันตรังสี 
    หากมีการส่งตรวจทางพยาธิวิทยาที่ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำในคู่มือการส่งตรวจ หรือ สิ่งส่งตรวจที่เข้าเกณฑ์การปฏิเสธสิ่งส่งตรวจตามที่ภาควิชาฯ กำหนด เจ้าหน้าที่จะทำการปฏิเสธสิ่งส่งตรวจนั้นโดยจะส่งคืนสิ่งส่งตรวจนั้นทันที หรือ จะระงับการตรวจทางพยาธิวิทยาไว้ จนกว่าจะมีการมาแก้ไขสิ่งส่งตรวจนั้นให้ถูกต้อง และ ทำการบันทึกเหตุการณ์และการดำเนินการแก้ไขลงในแบบฟอร์มปฏิเสธสิ่งส่งตรวจ (เอกสาร F) พร้อมสำเนา เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานต่อไป

staff image

นายปฐมพร พุดบุรี

บุคลากร

คณะพยาธิวิทยา

การทำงาน
- รับ - ส่ง ศพที่มีความประสงค์ตรวจ
- ตัด เตรียมสไลด์ชิ้นเนื้อเพื่อตรวจศพทางพยาธิวิทยา
ความเชี่ยวชาญ
- ตัด เตรียมสไลด์ชิ้นเนื้อเพื่อตรวจศพทางพยาธิวิทยา
- ประสบการณ์ทำงาน 40 ปี