วิสัยทัศน์และพันธกิจ

วิสัยทัศน์และพันธกิจ

         ภาควิชาพยาธิวิทยา มีสถานภาพเป็นหน่วยงานระดับภาควิชาของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตั้งอยู่ที่อาคารเตรียมวิทยาศาสตร์คลินิก ชั้น 5 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โทร. 043-36-3691, 043-36-3976 โทรสาร. 043-348388 

       เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ.2517 โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์พิสิฏฐ์ สัณฑ์พิทักษ์ เริ่มให้บริการด้านพยาธิวิทยา โดยมี ผศ.นพ.พิสิฏฐ์ สัณฑ์พิทักษ์ เป็นหัวหน้าภาควิชาฯ คนแรกของภาควิชาพยาธิวิทยา ณ ปัจจุบัน ให้บริการด้านต่างๆ ดังนี้


ด้านงานบริการโรงพยาบาลศรีนครินทร์
         1. งานบริการศัลย์พยาธิวิทยา (Surgical Pathology) หมายถึง ชิ้นเนื้อขนาดเล็ก จนถึงอวัยวะ ที่นาออกมาจากร่างกาย ที่ส่งมาขอการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยา สิ่งส่งตรวจอยู่ในสภาพสด หรือแช่มาในน้ายา formalin ก็ได้ ซึ่งกรรมวิธีทางห้องปฏิบัติการจะมีการแปลงให้เป็นชิ้นเนื้อที่กลายเป็นไขฝังอยู่ในพาราฟินบล็อก สิ่งส่งตรวจที่นามาส่งตรวจทางพยาธิวิทยาจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการส่งตรวจที่กำหนดไว้ มิฉะนั้นทางงานบริการพยาธิวิทยาจะทำการปฏิเสธสิ่งส่งตรวจ  
         2. งานบริการเซลล์พยาธิวิทยา (Cytopathology) หมายถึง ตัวอย่างทางเซลล์วิทยา และหรือสารน้า ที่นาออกมาจากร่างกาย ที่ส่งมาขอการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยา สิ่งส่งตรวจอยู่ในสภาพตัวอย่างของเหลว หรือ ในรูปของสไลด์ (slide) แช่มาในน้ายา 95% ethanolก็ได้ ซึ่งกรรมวิธีทางห้องปฏิบัติการจะมีการแปลงให้เป็นสเมียร์ที่อยู่บนสไลด์ (smear) และก้อนเซลล์ที่ฝังในพาราฟินบล็อก (cell block)
         3. งานบริการการตรวจเพิ่มเติมโดยวิธีย้อมพิเศษ อิมมูโนเคมี และเทคนิคทางอณูวิทยา (Special Stain, Immunohistochemistry and Molecular Technique) การตรวจเพิ่มเติมในที่นี้หมายถึง การศึกษาสิ่งส่งตรวจโดยใช้เทคนิค Special stain, Immunohistochemistry และ Molecular techniqueเพื่อทาให้การวินิจฉัยทางพยาธิวิทยามีความสมบูรณ์ สิ่งส่งตรวจเป็นชิ้นเนื้อที่อยู่ในรูปพาราฟินบล็อก
         4.การวินิจฉัยทางเซลล์พันธุศาสตร์ (Cytogenetic) บริการตรวจวิเคราะห์โครโมโซมในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเบื้องต้นว่ามีความผิดปกติหรือมีลักษณะแสดงออกที่สัมพันธ์กับกลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม  ตรวจวิเคราะห์โครโมโซมจากตัวอย่าง เลือด ไขกระดูก และเซลล์จากน้ำคร่ำโดยวิธีการเพาะเลี้ยงเซลล์ และตรวจโครโมโซมโดยวิธี G-banding และ C-banding และ ตรวจวินิจฉัยความผิดปกติในระดับยีนด้วยเทคนิคฟลูออเรสเซ็นต์อินซิตูไฮบริไดเซชั่น (Fluorescence in situ hybridization) ทั้งในระยะเมทาเฟส (metaphase cell) และในระยะอินเทอร์เฟส (interphase cell)
         5. การตรวจศพ ให้บริการตรวจศพที่เสียชีวิตในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ที่ไม่มีปัญหาทางกฎหมาย

ด้านการศึกษา
         ทำการสอนรายวิชาทางด้านพยาธิวิทยาทั้งในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาให้แก่นักศึกษาแพทย์ และนักศึกษาคณะอื่นๆในศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้แก่นักศึกษาเทคนิคการแพทย์ เภสัชศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ พยาบาลศาสตร์  ให้บริการช่วยสอนรายวิชาด้านพยาธิวิทยาแก่นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีจังหวัดขอนแก่น วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีจังหวัดอุดรธานี  วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย     
         ให้การฝึกอบรมแพทย์ใช้ทุน แพทย์ประจำบ้าน สาขาพยาธิวิทยากายวิภาค และจัดสอบประเมินของราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ให้รับวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญสาขาพยาธิวิทยากายวิภาคในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม 

 

 

ช่องทางการติดต่อ อาคารเตรียมวิทยาศาสตร์คลินิก
ชั้น  5 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โทร. .043-36-3691, 043-36-3976     โทรสาร 043-348388     
เฟสบุ๊ค https://www.facebook.com/pathokku
เว็บไซต์ patho.md.kku.ac.th